บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าและไอน้ำที่มีคุณภาพสูง และมุ่งมั่นต่อคุณภาพของการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า พร้อมทั้งดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ได้กำหนด นโยบายทางสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รวมถึงจัดตั้งคณะกรรมการและฝ่ายงานที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
แนวทางบริหารจัดการ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในภาพรวม
จำนวนการร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม | 1 ครั้ง | |
จำนวนการละเมิดข้อกำหนดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม | 0 ครั้ง | |
การนำเถ้าชีวมวลมาเป็นสารปรับปรุงดินแปลงปลูกยูคาลิปตัส และการคัดแยก Sodium Sulfate ออกจากเถ้ากลับเข้าระบบ | 215,847.06 ตัน | |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด1 | 6,119,485 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า | |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 | 2,245,494 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า | |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 2 | 51,324 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า | |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3 | 3,822,667 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า | |
ปริมาณความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก | 193.62 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อรายได้ของปี 2023 (ล้านบาท) | |
เหตุการณ์ไม่ปฏิบัติตามหรือละเมิดนโยบายการจัดการพลังงาน | 0 กรณี | |
ปริมาณรวมในการดึงน้ำจากแหล่งน้ำมาใช้ | 67,648.20 เมกะลิตร | |
ปริมาณรวมในการดึงน้ำจากแหล่งที่มีความเครียดน้ำ | 0 เมกะลิตร | |
เหตุการณ์ไม่ปฏิบัติตามหรือละเมิดนโยบายการจัดการน้ำ | 0 กรณี | |
ปริมาณการใช้น้ำเทียบต่อหน่วยการผลิตเท่ากับ | 0.017 เมกะลิตร/MWh | |
ปริมาณน้ำทิ้งเทียบต่อหน่วยการผลิตเท่ากับ | 0.0001 เมกะลิตร/MWh | |
ปริมาณของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้น | 361,067.11 ตัน | |
ปริมาณของเสียทั้งหมดที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ | 261,976.20 ตัน | |
ปริมาณของเสียทั้งหมดที่ถูกกำจัด | 99,090.91 ตัน | |
เหตุการณ์ไม่ปฏิบัติตามหรือละเมิดนโยบายการจัดการของเสีย | 1 กรณี | |
ปริมาณก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) | 94.33 PPM | |
ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOx) | 65.00 PPM | |
ปริมาณสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POP) | 0 PPM | |
ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) | 0 PPM | |
ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) | 60.81 PPM | |
เหตุการณ์ไม่ปฏิบัติตามหรือละเมิดนโยบายการจัดการมลพิษ | 0 กรณี |
กฎหมายและข้อบังคับเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรต้องปฏิบัติตามในการประกอบธุรกิจ ซึ่งหากบริษัทฯ ละเลยการปฏิบัติตามกฎหมาย อาจส่งผลต่อการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจจากกรณีต่าง ๆ อาทิ การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ หรือการถูกดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งอาจส่งผลต่อการสูญเสียรายได้ ชื่อเสียง และความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้เสียต่อองค์กรได้ บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎหมายและแนวปฏิบัติตามมาตรฐานต่าง ๆ ในทุกกระบวนการ โดยเริ่มต้นจากการมุ่งเน้นต่อการสร้างความตระหนักรู้ของคนในองค์กร ประยุกต์และสามารถนำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ มาปรับใช้ รวมถึงการติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ตลอดจนการศึกษาแนวโน้มทางด้านการเปลี่ยนแปลงเชิงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งทบทวนนโยบายให้สอดรับกับกฎหมายและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ
นโยบายคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และนโยบายความยั่งยืน
บริษัทฯ กำหนดนโยบายคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานให้กับบุคลากรทุกคนในบริษัทฯ รวมถึงการจัดตั้งสายงานด้านความมั่นคงปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และระบบคุณภาพ เพื่อควบคุมการดำเนินการและการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับนโยบายคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยนโยบายดังกล่าวจะมุ่งเน้นให้ตระหนักถึงความสำคัญต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ อาทิ คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ และการจัดการกากอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน โดยบริษัทฯ จะดำเนินการตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมให้การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อสร้างความมั่นใจว่า การดำเนินการของบริษัทฯ เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือมาตรฐานการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- กำหนดวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้สอดรับบริบทองค์กรและทิศทาง กลยุทธ์ ส่งเสริมความตระหนักและการคิดบนพื้นฐานความเสี่ยงและโอกาสเพื่อความมั่นคงของสมรรถนะการผลิตและการพัฒนาให้ตรงตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- จัดหาทรัพยากรให้เพียงพออย่างยั่งยืนและเลือกใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ กระบวนการผลิต ที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงผลกระทบในด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และการสิ้นเปลืองพลังงานเป็นสำคัญ
- ปกป้องสิ่งแวดล้อมและป้องกันการเกิดมลพิษที่อาจเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การบาดเจ็บ เจ็บป่วย อันตรายจากการทำงาน และอันตรายจากการเกิดอัคคีภัย สารเคมี และไฟฟ้า
- ปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง
- ปฏิบัติตามพันธกิจ กฎหมาย และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและด้านพลังงานอย่างเคร่งครัด
- ให้ความสำคัญและสนับสนุนทรัพยากรอย่างเหมาะสม ทั้งในเรื่องบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ เวลา และงบประมาณ
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการพัฒนานโยบายด้านความยั่งยืน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการในมิติด้านสิ่งแวดล้อมที่จะสอดคล้องกับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ โดยนโยบายดังกล่าวมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งนโยบายดังกล่าวครอบคลุมถึงเรื่องการบริหารจัดการน้ำ มลพิษอากาศ และการสร้างระบบนิเวศ ฯลฯ โดยครอบคลุมประเด็นความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม
ผลการดำเนินงานในปี 2566
บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายด้านความยั่งยืนขึ้น | เป็นปีแรก | |
การทบทวนและปรับปรุงนโยบายคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย | อย่างต่อเนื่อง | |
จำนวนกรณีการละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมแบบเสียค่าปรับ | 0 กรณี | |
จำนวนกรณีการละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมแบบไม่เสียค่าปรับ | 0 กรณี | |
จำนวนการร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม | 1 ครั้ง | |
จำนวนค่าปรับรวมที่จ่ายจากการละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม | 0 บาท | |
จำนวนงบประมาณรวมการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
|
15.3 ล้านบาท |
การบริหารทรัพยากรในกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นคง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของทุกองค์กรได้ในระยะยาว โดยนัยสำคัญมิใช่เพียงการป้องกันการสูญเสียทรัพยากรระหว่างกระบวนการผลิต แต่องค์กรจะต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่หลงเหลืออยู่ให้เกิดมูลค่าเพิ่มหรือหมุนเวียนกลับเข้ามาใช้ทั้งในระบบและนอกระบบธุรกิจขององค์กร
ผลการดำเนินงานในปี 2566
ปริมาณของเสียที่หมุนเวียนกลับมาใช้ในระบบ | 215,847.06 ตัน |
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจุบันหลายพื้นที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์จากภัยธรรมชาติ อาทิ อุกทกภัย ไฟป่า พายุฝน และปัญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ ส่งผลกระทบให้เกิดอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนความเป็นอยู่ของมนุษย์
จากปัญหาในปัจจุบันทำให้หลายภาคส่วนร่วมกันกำหนดทิศทางในการลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส อุตสาหกรรมพลังงานถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานของโลกในการพัฒนาสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และความเป็นกลางทางคาร์บอน ส่งผลให้บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนผ่านธุรกิจให้เป็นพลังงานสะอาด 100% และมีเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต บริษัทฯ ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีสัดส่วนแหล่งผลิตจากถ่านหินในปริมาณสูงสุด ตระหนักดีถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น และมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการปัญหาสภาวะโลกร้อน โดยมีการบริหารจัดการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบัน จากความพยายามที่จะควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่มีการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงถ่านหิน ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งในปัจจุบันที่ ทั่วโลกมีเป้าหมายในการควบคุมผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เชื้อเพลิงฟอสซิลถือเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลจะได้รับผลกระทบจากการที่หลายภาคส่วนมุ่งไปยังการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น อาจทำให้ความต้องการพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลลดลง รวมถึงการควบคุมจากทางภาครัฐผ่านทางนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพลังงานในอนาคตอาจทำให้การดำเนินการของบริษัทฯ ได้รับผลกระทบเชิงลบ เช่น การพยายามควบคุมราคาวัตถุดิบการผลิตพลังงาน การบังคับใช้คาร์บอนเครดิต หรืออื่น ๆ ทำให้บริษัทฯ ที่ยังพึ่งพาการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการดำเนินงาน
เพื่อบริหารความเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ บริษัทฯ จึงมีการลงทุนในการผลิตพลังงานสะอาด เช่น พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล และพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาถ่านหินเพียงอย่างเดียว และช่วยให้บริษัทฯ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยสำคัญ
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 | 2,245,494 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า | |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 2 | 51,324 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า | |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3 | 3,822,667 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า | |
ปริมาณความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก | 193.62 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อรายได้ของปี 2023 (ล้านบาท) |
ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกกำลังประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการ ในการบริโภคทรัพยากรและการใช้พลังงานสูงขึ้น บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความท้าทายด้านการจัดการพลังงาน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญและเร่งด่วนที่จะต้องบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดแนวทางในการใช้ทรัพยากรอย่างมี ความรับผิดชอบ อีกทั้งบริษัทฯ ได้มองหาโอกาสในด้านพลังงานหมุนเวียนที่สามารถขับเคลื่อนให้องค์กรมุ่งสู่การเป็นบริษัทพลังงานสะอาด และสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้นทุนขององค์กร และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้เป็นศูนย์ในอนาคต
จากการที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนามความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Paris Agreement ในปี 2559 เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และมุ่งบรรลุุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 บริษัทฯ ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและวัสดุชีวมวล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านของพลังงานสะอาด และพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ที่มีแนวโน้มความต้องการไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่สูงขึ้นจากทั้งลูกค้าอุตสาหกรรม และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัทฯ ได้คำนึงถึงทั้งโอกาสและ ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น จึงมีการจัดตั้งคณะทำงาน และกำหนดตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการพลังงาน รวมถึงจัดทำนโยบายด้านการบริหารจัดการพลังงานขึ้น เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติให้แก่ทุกคนในองค์กร
นโยบายด้านการบริหารจัดการพลังงาน
ในการดำเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าและไอน้ำ บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งกลุ่มลูกค้า รวมไปถึงเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ โดยบริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายด้านการจัดการพลังงาน เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพ และส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานขององค์กร รวมไปถึงสนับสนุนโครงการและการฝึกอบรมด้านพลังงานของพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายหรือข้อกฎหมายด้านพลังงาน ที่อาจเป็นผลมาจากสถานการณ์สงคราม การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคจากภาวะโรคระบาด หรือแม้กระทั่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกระแสด้านความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจสร้างความเสี่ยงต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยความเปลี่ยนแปลงจากภาครัฐอาจส่งผลให้การประกอบธุรกิจการจำหน่ายพลังงานเป็นไปได้ยากขึ้น ด้วยการที่ภาครัฐเข้ามาควบคุมราคาวัตถุดิบการผลิตพลังงานประเภทเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจต่าง ๆ ที่อาจสร้างผลกระทบต่อการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ ความผันผวนของราคาวัตถุดิบอันเนื่องมาจากสถานการณ์ต่าง ๆ ของโลกอาจทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคา การจำหน่ายพลังงาน ทำให้ผู้บริโภคหันไปให้ความสนใจต่อพลังงานสะอาดที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่ารวมถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องในยุคปัจจุบันก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเช่นเดียวกัน โดยในท้ายที่สุดอาจสร้างความเสี่ยงต่อการสูญเสียรายได้ของบริษัทฯ ได้
บริษัทฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมการผลิตพลังงาน ตระหนักดีถึงความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยมีการติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รู้เท่าทันต่อสถานการณ์ โดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายด้านพลังงานจากทางภาครัฐ รวมถึงมีการศึกษาและพัฒนาการผลิตพลังงานสะอาด เช่น พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลและพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคพลังงานสะอาดที่กำลังขยายตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นการจำกัดความเสี่ยงจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่เป็นต้นเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยความตระหนักดีว่า ธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่น้อยไปกว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมประเภทอื่น ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปสู่พลังงานสะอาดโดยพร้อมกัน
แผนการดำเนินงาน
โครงสร้างคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน
บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานเพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาโรงงานควบคุม พ.ศ. 2540 ซึ่งกำหนดให้บริษัทฯ มีการจัดการพลังงานขึ้นในองค์กร และต้องได้รับการรับรองด้านการจัดการพลังงานจาก ผู้ตรวจสอบพลังงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงาน เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งคณะทำงานชุดดังกล่าวมีหน้าที่ดำเนินการจัดการพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ ประสานงาน ควบคุมดูแล ให้การจัดการพลังงานเป็นไปตามข้อปฏิบัติและนโยบาย รวมทั้งจัดอบรมหรือกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานให้กับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนติดตาม รายงานผลการดำเนินงาน และทบทวนนโยบายด้านพลังงานอย่างสม่ำเสมอ
คณะกรรมการตรวจประเมินระบบการจัดการพลังงาน
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินระบบการจัดการพลังงานภายในองค์กรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ตรวจประเมินระบบการจัดการพลังงานที่ประกอบด้วย นโยบาย เป้าหมาย และการดำเนินการให้เป็นไปตามแผน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จากการประเมินของปี 2566 พบว่าการดำเนินการจัดการพลังงานขององค์กรมีความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด อีกทั้งบริษัทฯ ได้นำผลการตรวจประเมินมาทบทวน และใช้ในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น โดยประเด็นที่ต้องปรับปรุง ได้แก่ การประเมินสภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น ที่บริษัทฯ ต้องปรับปรุงการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานของบริษัทฯ
แผนการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงาน (ปี 2566 – 2568)
กลุ่มบริษัทฯ ได้พัฒนาแผนการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานในระยะเวลา 3 ปี (ปี 2566 – 2568) สำหรับพื้นที่สวนอุตสาหกรรม 304 ปราจีนบุรี ได้แก่ PP5, PP6, PP7, PP8, PP9, PP5A, PP11 และพื้นที่สวนอุตสาหกรรม 304 ฉะเชิงเทรา ได้แก่ PP3 และ PP4 เพื่อใช้ในการกำกับดูแล และติดตามผลในระยะยาว รวมถึงการกำหนดงบประมาณที่เหมาะสมสำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงานเตรียมพร้อมสำหรับแผนงานซ่อมบำรุง และการปรับปรุงระบบประสิทธิภาพประจำปี อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการติดตามตรวจสอบและซ่อมบำรุงอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ทั้งรายเดือนและรายไตรมาส โดยมอบหมายหน้าที่ให้กับคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน และเจ้าหน้าที่ส่วนงานซ่อมบำรุงในการติดตามผล และรายงานต่อคณะทำงาน อย่างสม่ำเสมอ และร่วมกันเตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงประจำปี
ปริมาณการใช้พลังงาน | ปี 2566 |
---|---|
ถ่านหิน (ตัน) | 1,270,225.95 |
ชีวมวล (ตัน) | 1,504,881.01 |
น้ำมันยางดำ (ตัน) | 511,558.70 |
น้ำมันดีเซล (ลิตร) | 3,105,251.00 |
น้ำมันเตา (ลิตร) | 5,101,933.04 |
NGV (ตัน) | 9,379.76 |
LNG (ตัน) | 913.26 |
ปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ทวีความรุนแรงขึ้นในหลายภาคส่วน โดยมีสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อนและ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปริมาณและคุณภาพน้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญในภูมิภาคต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งภาคอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์
บริษัทฯ ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจในการเป็นผู้ให้บริการในการจัดหา จำหน่ายน้ำดิบ และน้ำเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม บริษัทฯ จึงตระหนักและให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งคำนึงถึงคุณภาพน้ำ และการดำเนินธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ บริษัทฯ จึงได้มีการกำหนดนโยบายและข้อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทางบริษัทฯ มีการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงและผลกระทบอย่างครอบคลุมทั้งด้านบรรษัทภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม
นโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำ
บริษัทฯ มีนโยบายในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัท เพื่อมุ่งเน้นที่จะผลิตน้ำอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน อีกทั้ง ยังนำระบบบริหารการจัดการคุณภาพ ISO 9001:2015 มาใช้ในการบริหารจัดการกิจกรรม และกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ ตามข้อกำหนดของลูกค้า กฎหมาย และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการสื่อสารให้เป็นที่เข้าใจและปฏิบัติตามภายในองค์กร พร้อมเปิดเผยต่อผู้มีส่วนได้เสียตามความเหมาะสม
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
การดำเนินธุรกิจจัดหา จำหน่ายน้ำดิบ และน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม อาจได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยแล้ง น้ำท่วม และการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดกฎหมายหรือนโยบายของภาครัฐ ซึ่งนอกเหนือจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของทางองค์การสหประชาชาติที่ระบุถึงเป้าหมายการมีน้ำเพื่อใช้ประโยชน์และมีการจัดการน้ำและสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน ทาง World Bank Group ยังมีการตั้งเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่ความมั่นคงทางน้ำภายในปี 2573 เพื่อพัฒนาและดำเนินการแก้ไขปัญหาเชิงปฏิบัติเพื่อการจัดการน้ำที่ดีขึ้น และผลักดันให้ภาคธุรกิจมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ
ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงและการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนจึงมีความสำคัญ และส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพของน้ำที่ใช้ในการดำเนินงานกระบวนการผลิตของบริษัทฯ ทั้งนี้ หากบริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินกิจการไปพร้อมกับการรักษาความมั่นคงทางน้ำ อาจนำไปสู่ความเสียหายทั้งด้านภาพลักษณ์และความมั่นคงของบริษัทฯ ในอนาคต
ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และกำหนดการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความเสี่ยง และความท้าทายต่าง ๆ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจให้บริการด้านน้ำได้อย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงาน
ปริมาณรวมในการดึงน้ำจากแหล่งน้ำมาใช้ | 71,696.21 เมกะลิตร | |
ปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด | 71,696.21 เมกะลิตร | |
ปริมาณน้ำทิ้งทั้งหมด | 599.70 เมกะลิตร | |
ปริมาณรวมในการดึงน้ำจากแหล่งที่มีวิกฤตการณ์ทางน้ำ | 0 ตัน | |
ปริมาณการใช้น้ำเทียบต่อหน่วยการผลิตเท่ากับ | 0.017 เมกะลิตร/MWh | |
ปริมาณน้ำทิ้งเทียบต่อหน่วยการผลิตเท่ากับ | 0.0001 เมกะลิตร/MWh |
การบริหารจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทางบริษัทฯ เน้นย้ำและให้ความสำคัญ เนื่องจากของเสียที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันตามแต่ละประเภท และมีวิธีการจัดการแตกต่างกันสำหรับวัตถุดิบตั้งต้นแต่ละประเภท โดยจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน และอยู่ภายใต้กรอบข้อกำหนดทางกฎหมายของภาครัฐ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการละเมิดกฎหมาย ผลเสีย หรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของชุมชนโดยรอบ ทั้งนี้ ของเสียรวมไปถึงสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากทั้งอาคารสำนักงานและของเสียที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า น้ำอุตสาหกรรม และก๊าซธรรมชาติ
ทางบริษัทฯ ยังให้ความสำคัญในประเด็นความเสี่ยงทางด้านความสามารถในการแข่งขันจากการบริหารจัดการของเสีย โดยการวิจัยและพัฒนากระบวนการใช้ประโยชน์จากของเสียหรือผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต ซึ่งจะช่วยลดปริมาณของเสียที่จะส่งกำจัดโดยการฝังกลบอย่างยั่งยืน อีกทั้งอาจสร้างผลตอบแทนในรูปแบบของรายได้ที่เพิ่มขึ้น หรือความน่าเชื่อถือในการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืนในระยะยาว
นโยบายด้านการบริหารจัดการของเสีย
บริษัทฯ มีการพัฒนาระบบงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 โดยมีนโยบายในเรื่องของการบริหารจัดการของเสีย ที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการกำกับดูแลและเป็นกรอบการดำเนินงานให้กับบุคลากรทุกคนในบริษัทฯ เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องการบริหารจัดการของเสียทั้งไม่อันตรายและอันตรายอย่างถูกต้องและมีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับตามข้อกำหนดกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
ในยุคปัจจุบันที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางการลดขยะให้เหลือศูนย์ (Zero Waste) จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 12 เพื่อสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการลดของเสีย การลดการปล่อยสารเคมีและของเสียที่เป็นพิษสู่ธรรมชาติ ตลอดจนการจัดการของเสียอย่างถูกวิธี ประเทศไทยในฐานะหนึ่งซึ่งเป็นประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ก็มีการกำหนดกฎหมายหรือนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการฝังกลบขยะ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยในอนาคตก็มีความเป็นไปได้สูงที่ระเบียบข้อบังคับในการจัดการของเสียของภาครัฐจะเคร่งครัดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ การบังคับใช้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ ทั้งในเรื่องของวิธีการดำเนินการจัดการขยะ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของเสีย งบประมาณการส่งกำจัดและวิเคราะห์คุณภาพของเสียที่อาจเพิ่มขึ้น รวมไปถึงข้อร้องเรียนจากชุมชนโดยรอบหากการจัดการของเสียไม่ได้เป็นไปอย่างถูกต้อง
บริษัทฯ ตระหนักดีว่าธุรกิจของบริษัทฯ มีปริมาณของเสียจากกระบวนการผลิตปริมาณมาก จึงเน้นย้ำแนวทางการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อลดปริมาณของเสีย ลดการสูญเสียวัสดุและทรัพยากรจากกระบวนการผลิต นำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ผ่านการรีไซเคิลหรืออัพไซเคิล เพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ และกำจัดของเสียอย่างถูกวิธี โดยปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อกำหนดของหน่วยงานภาครัฐอย่างเคร่งครัด ในอนาคตบริษัทฯ ยังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าให้เป็นพลังงานสะอาดมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการลดการเกิดของเสียจากการผลิตอีกทางหนึ่ง และจะรณรงค์เรื่องการอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการของเสียแก่ผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
ผลการดำเนินงาน
ปริมาณของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้น | 361,067.11 ตัน | |
ปริมาณของเสียอันตรายทั้งหมดที่เกิดขึ้น | 90.35 ตัน | |
ปริมาณของเสียไม่อันตรายทั้งหมดที่เกิดขึ้น | 360,976.76 ตัน | |
ปริมาณของเสียทั้งหมดที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ | 215,851.56 ตัน | |
ปริมาณของเสียอันตรายทั้งหมดที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ | 4 ตัน | |
ปริมาณของไม่เสียอันตรายทั้งหมดที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ | 215,847.56 ตัน | |
- ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่ถูกใช้ประโยชน์ด้วยวิธีการอื่น (นำไปปรับปรุงดินสำหรับปลูกต้นยูคาลิปตัส) | 215,847.56 ตัน | |
ปริมาณของเสียทั้งหมดที่ถูกกำจัด | 99,090.91 ตัน | |
ปริมาณของเสียอันตรายทั้งหมดที่ถูกกำจัด | 86.35 ตัน | |
- ปริมาณของเสียอันตรายที่ถูกกำจัดด้วยวิธีการเผาเพื่อผลิตพลังงาน | 6.81 ตัน | |
- ปริมาณของเสียอันตรายที่ถูกกำจัดด้วยวิธีการเผา | 3.08 ตัน | |
- ปริมาณของเสียอันตรายที่ถูกกำจัดด้วยวิธีการอื่น | 76.46 ตัน | |
ปริมาณของเสียไม่อันตรายทั้งหมดที่ถูกกำจัด | 99,004.56 ตัน | |
- ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่ถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบ | 99,004.56 ตัน |
ในอุตสาหกรรมพลังงาน โดยเฉพาะธุรกิจผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินและวัสดุชีวมวล ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ว่าการดำเนินงานก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ น้ำ และเสียง ที่ส่งผลกระทบเชิงลบ สร้างความรำคาญ ตลอดจนลดทอนคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของทั้งพนักงานและชุมชนโดยรอบ บริษัทฯ จึงตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการมลพิษ ผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมถึงความปลอดภัยและมาตรฐานในการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน รวมถึงปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
นโยบายด้านการบริหารจัดการมลพิษ
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของบุคลากรภายในโรงงาน โดยยึดหลักการกฎหมายความปลอดภัยฯ และมาตรฐานสากล เช่น OSHA NFPA ISO45001:2018 มีมาตรการติดตามตรวจสอบ กำหนดพารามิเตอร์ (Parameter) และความถี่ในการตรวจวัดตามมาตรฐาน อาทิ ความเข้มของแสง ระดับเสียง สารเคมี ฝุ่นละออง ระดับความร้อน และความเข้มข้นของก๊าซไวไฟในสถานที่ทำงาน เป็นต้น
นอกเหนือจากนั้น บริษัทฯ มีการพัฒนาระบบงานด้านการจัดสิ่งแวดล้อม มลพิษ และการจัดการพลังงานของบริษัทฯ ตามมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 โดยมีนโยบายการจัดการมลพิษ ที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย ด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อกำกับดูแลและเป็นกรอบการดำเนินงานให้กับบุคลากรทุกคนในบริษัทฯ
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะฝุ่น PM 2.5 เป็นประจำ เนื่องด้วยสภาวะอากาศที่ผกผันและเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ทำให้ฝุ่นละอองถูกกักไว้ในชั้นบรรยากาศชั้นต้น ประกอบกับปริมาณฝนที่ลดลงในบางช่วง รวมถึงความนิ่งของกระแสลม ทำให้ฝุ่นละอองต่าง ๆ เช่น PM 2.5 มีการตกค้าง โดยปัญหาฝุ่นละอองต่าง ๆ ในประเทศไทย เกิดขึ้นจากการการขยายตัวของเมือง (Urbanization) ที่ทำให้มีรถยนต์ หรือยานพาหนะชนิดต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในท้องถนน ก่อให้เกิดมลพิษและฝุ่นละออง รวมถึงกิจกรรมทางอุตสาหกรรม เช่น การผลิตไฟฟ้าจากการเผาไหม้ ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ สร้างปัญหาต่อสุขภาพของผู้คน โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังสร้างผลกระทบต่อประชาชนโดยองค์รวมด้วย
บริษัทฯ ตระหนักถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 และปัญหามลพิษโดยรวมของประเทศ และตระหนักถึงความเสี่ยงต่อชื่อเสียงและรายได้ของบริษัทฯ ถ้าหากบริษัทฯ ไม่มีการจัดการมลพิษที่เกิดจากการผลิตของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะลดปริมาณสารพิษและมลพิษที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าและน้ำของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินงานทั้งในแง่ของการจัดการ และการดูแลสอดส่องการปล่อยมลพิษที่มาจากการผลิตของบริษัทฯ เช่น มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการมลพิษจากการเผาไหม้ โดยติดตั้งระบบดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) เพื่อดักจับฝุ่นละอองจากการเผาไหม้ เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังตระหนักถึงผลกระทบทางมลพิษที่บริษัทฯ อาจจะมีต่อชุมชนใกล้เคียง จึงได้จัดทำมาตรการด้านการสื่อสารกับชุมชน ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน และแจ้งให้ชุมชนได้รับทราบถึงขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้ชุมชนได้รับทราบข้อมูลอย่างทันท่วงทีในกรณีมีเหตุขัดข้องในระบบบำบัดมลพิษ รวมถึงยังมีการควบคุมระดับเสียงที่เกิดจากกระบวนการดำเนินงาน เพื่อให้มั่นใจว่า การประกอบกิจการของบริษัทฯ จะไม่สร้างผลกระทบใด ๆ ให้กับชุมชนรอบข้าง
ผลการดำเนินงาน
ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) | 94.33 PPM | |
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOx) | 65.00 PPM | |
สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POP) | 0 PPM | |
สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) | 0 PPM | |
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) | 60.81 PPM | |
จำนวนข้อร้องเรียนจากสังคมและชุมชนโดยรอบ | 0 กรณี |