การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจและบรรษัทภิบาล
นโยบายด้านบรรษัทภิบาล
การบริหารจัดการด้านบรรษัทภิบาลและการกำกับดูแลกิจการ เป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของการบริหารองค์กร เนื่องจากการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะสามารถชี้นำองค์กรให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม ซึ่งจะสร้างความน่าเชื่อถือในตัวองค์กรให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังช่วยให้องค์กรสามารถบริหารความเสี่ยง ปกป้ององค์กรจากการกระทำผิดกฎหมาย และการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อการนี้ บริษัทฯ ได้มีการจัดทำนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนบนหลักของการกำกับดูแลกิจการดีที่ให้กับพนักงานทุกระดับ ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้มั่นใจว่า การดำเนินงานตลอดทั้งต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของบริษัทฯ มีการคำนึงถึงการดำรงตนอยู่บนหลักของบรรษัทภิบาลอยู่เสมอ
สำหรับปี 2566 บริษัทฯ มีการดำเนินงานด้านบรรษัทภิบาล ครอบคลุมหัวข้อการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ การจัดการความเสี่ยงทางด้านความยั่งยืน การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน การเติบโตและโอกาสทางธุรกิจที่ยั่งยืน ความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล เทคโนโลยีและนวัตกรรม การบริหารจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ และลูกค้าสัมพันธ์
เป้าหมายการดำเนินงาน
เป้าหมายการดำเนินงาน | 2566 |
---|---|
สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ เช่น พรบ. ความปลอดภัย ไซเบอร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และรวมถึงกฎหมายด้านความปลอดภัยอื่น ได้แก่ พรบ. คอมพิวเตอร์ และ พรบ. ข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น | 100% ของข้อกฎหมายทั้งหมด |
ดำเนินการประเมินผลความพึงพอใจของลูกค้า | ≥85% ของลูกค้าทั้งหมด |
คะแนนความพึงพอใจของลูกค้ากลุ่มไฟฟ้า | ≥83% |
คะแนนความพึงพอใจของลูกค้ากลุ่มน้ำ | ≥86% |
คะแนนความพึงพอใจของลูกค้ากลุ่มไอน้ำ | ≥92% |
แนวทางบริหารจัดการ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผลการดำเนินงาน
พนักงานใหม่ทั้งหมด ได้รับการอบรมจรรยาบรรณธุรกิจ | 100% ของพนักงานทั้งหมด | |
ทำการลงนามในจรรยาบรรณธุรกิจของคู่ค้า โดยผนวกการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ในปี 2567 | ||
กรณีฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจหรือข้อกำหนดกฎหมาย | 0 กรณี | |
ร้อยละของการดำเนินงานที่ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน | 100 % | |
พัฒนาแผนอบรมการบริหารความเสี่ยงสำหรับปี 2567 | 1. มีแผนจัดอบรม Enterprise Risk Management สำหรับ Risk Owner พนักงาน ผู้บริหาร 2. มีแผนนำเสนออบรม ESG risk, Fraud Risk, ERM Practitioner #2 และ HRP |
|
พัฒนาคู่มือบริหารความเสี่ยงเพื่อสื่อสารภายใน | ||
จำนวนคู่ค้ารายใหม่ | 165 ราย | |
จำนวนคู่ค้าหลักที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ | 56 ราย | |
พัฒนาหลักเกณฑ์ในการคัดกรองด้วยเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ภายในปี 2567 | ||
จัดอบรมให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Cyber Security User Awareness ให้กับพนักงาน | 1 ครั้ง | |
จัดตั้งคณะทำงานด้านการเฝ้าระวัง-รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และความต่อเนื่องทางธุรกิจ | ||
ฝ่าย IT จัดทำแผนการซ้อมเสมือนจริงกรณีบริษัทได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ | ||
จำนวนคำร้องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือความเป็นส่วนตัวของข้อมูล | 0 คำร้อง | |
มีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าทั้งหมด | 100 % | |
คะแนนความพึงพอใจของลูกค้าบริการไฟฟ้า | คะแนน 82% | |
คะแนนความพึงพอใจของลูกค้าบริการน้ำ | คะแนน 85.95% | |
ข้อร้องเรียนด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และการบริการจากลูกค้า | 0 กรณี |
ความยั่งยืนกลายเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ และหลากหลายองค์กรก็มีความพยายาม ที่จะนำเอาความยั่งยืนเข้ามาปรับใช้กับการประกอบธุรกิจของตน ซึ่งประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนอาจนำมา ซึ่งความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบที่อาจสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจได้ ดังนั้น การพิจารณาและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บริษัทฯ เล็งเห็นและมุ่งมั่นให้ความสำคัญ เนื่องจากบริษัทฯ ตระหนักดีว่า หากความเสี่ยงต่าง ๆ ถูกปล่อยปละละเลยและไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม อาจทำให้ธุรกิจที่มีอยู่เสียหายได้ เช่น ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อาจสร้างความเสียหายต่อโรงงานหรือคู่ค้าที่นำส่งวัตถุดิบมาให้ หรือความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านพลังงานจากทางภาครัฐ ที่อาจทำให้บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เสียค่าปรับ ไปจนถึงการถูกถอดถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ซึ่งในฐานะบริษัทผู้ผลิตพลังงานชั้นนำ บริษัทฯ จำเป็นต้องให้ความสำคัญสูงสุดกับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืน จึงให้ความสำคัญต่อกระบวนการระบุประเด็นความเสี่ยง การสื่อสาร และสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานเจ้าของความเสี่ยง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมบริหารความเสี่ยงที่ดีของคนทั้งองค์กร เพื่อให้บริษัทฯ ลดผลกระทบเชิงลบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ และดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง มั่นคง และเติบโตอย่างยั่งยืน
นโยบายการบริหารความเสี่ยง และนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ด้วยการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง ที่จะเป็นกรอบการดำเนินงานในการติดตาม ประเมิน และบริหารจัดการ เพื่อจัดการประเด็นความเสี่ยงให้กับบุคลากรทุกส่วนงานครอบคลุมทั้งกลุ่มบริษัทฯ และยังได้กำหนดนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ที่ใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการองค์กรในสภาวะวิกฤต เพื่อป้องกันการหยุดชะงักของธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัท ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเป็นไปอย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพสูงสุด และได้มีการทบทวนกฎบัตรของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และนโยบายการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจว่า คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และนโยบายการบริหารความเสี่ยง มีความครอบคลุม และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรให้สามารถดำเนินการได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการแต่งตั้งคณะทำงานบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนบุคลากรจากแต่ละสายงาน และยังเป็นคณะทำงานที่ไม่อยู่ภายใต้สายงานธุรกิจ และมีผู้รับผิดชอบสูงสุดในระดับปฏิบัติการด้านการบริหารความเสี่ยง และผู้รับผิดชอบสูงสุดในระดับปฏิบัติการ ด้านการตรวจสอบภายในองค์กร ทั้งนี้ในปี 2567 บริษัทฯ จะมีการปรับโครงสร้างให้หน่วยงานบริหารความเสี่ยงเป็นอิสระต่อสายงานทางด้านธุรกิจ
กระบวนการประเมินความเสี่ยง
บริษัทฯ ใช้กระบวนการประเมินความเสี่ยงโดยอ้างอิงจากกรอบการบริหารความเสี่ยง COSO-ERM 2017 และ ISO 30001 ในการประเมินความเสี่ยงขององค์กรทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก รวมถึงมีการวางแผนการควบคุมความเสี่ยง ประเมินวัดผล รายงานต่อผู้บริหาร และรายงานต่อกรรมการบริหารความเสี่ยงในทุกไตรมาส โดยบริษัทฯ มีการประเมินความเสี่ยงที่ครอบคลุมหลากหลายด้าน อาทิ
- ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ เช่น ความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถปรับราคาจำหน่ายไฟฟ้าบางส่วนให้สอดคล้องกับต้นทุนเชื้อเพลิง
- ความเสี่ยงด้านการเงิน เช่น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การขาดสภาพคล่อง การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจ
- ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน เช่น ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น ชีวมวล ถ่านหิน น้ำมันยางดำ
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎระเบียบหรือกฎหมาย เช่น ข้อกำหนดในสัญญาจำหน่ายไฟฟ้าให้กับ AA และบริษัทที่เกี่ยวโยงกัน และลูกค้าอุตสาหกรรม
- ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG)
- ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์และชื่อเสียง
ในการบริหารจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ บริษัทฯ มีการกำหนดดัชนีชี้วัดความเสี่ยงหลัก (Key Risk Indicators: KRIs) ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และความสามารถที่รับความเสี่ยงได้ (Risk Tolerance) โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงหลัก (Key Risk Indicator) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดกิจกรรมที่อาจทำให้บริษัทฯ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อาจหมายรวมถึงสิ่งหรือสาเหตุที่แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยง/ผลกระทบของความเสี่ยงนั้น ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงหลักอาจมีได้หลายตัวขึ้นอยู่กับการระบุสาเหตุ/ ผลกระทบของความเสี่ยง
- ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) คือ ระดับของค่า KRI ที่อยู่ในระดับความเสี่ยงโดยรวมที่องค์กรยอมรับได้เพื่อมุ่งไปสู่พันธกิจหรือวิสัยทัศน์ขององค์กร ทั้งนี้สามารถกำหนดให้สอดคล้องกับ KPI Target ตามเป้าหมายในแผนธุรกิจได้
- ระดับความเสี่ยงเบี่ยงเบนที่ยอมรับได้ (Risk Tolerance) คือ ระดับความเบี่ยงเบน/ ความผันผวนของ ค่า KRI จาก Risk Appetite ที่องค์กรยอมรับได้โดยให้กำหนดแตกต่างจาก Risk Appetite 1 ระดับ เช่น
รายละเอียด | ตัวอย่าง |
---|---|
Risk factor | ความเสี่ยงต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น |
Key Risk Indicator (KRI) | Conversion cash cost |
Risk Appetite | Conversion cash cost เป็นไปตามแผนงบประมาณ |
Risk Tolerance | Conversion cash cost มากกว่าแผนงบประมาณ |
โดยดัชนีชี้วัดความเสี่ยงหลัก มีทั้งตัวชี้วัดด้านการเงิน และไม่ใช่การเงิน ดังนี้
- วัดเชิงปริมาณ/ตัวเลข ผลกระทบทางด้านการเงิน 5 เกณฑ์ ได้แก่
- รายได้จากการขายลดลงจากเป้าหมาย (หน่วยวัด %)
- EBITDA ลดลงจากเป้าหมาย (หน่วยวัด %)
- กระแสเงินสด/สภาพคล่องลดลงจากเป้าหมาย (หน่วยวัด %)
- ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่างบประมาณ (หน่วยวัด %)
- การผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย (หน่วยวัด %)
- วัดเชิงคุณภาพ ผลกระทบไม่ใช่ด้านการเงิน 7 เกณฑ์
- ภาพลักษณ์ชื่อเสียง (มีข่าวเชิงลบในสื่อต่าง ๆ) หน่วยเกณฑ์ (วัน)
- ด้านความปลอดภัยส่งผลกระทบต่อบุคคล
- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ผลกระทบจากความเสี่ยงและมีผลต่อการดำเนินงานระยะเวลาแก้ไขปรับปรุง
- การเกิดอัคคีภัย
- กฎระเบียบและข้อบังคับ
- ด้านทรัพยากรบุคคล
หลังจากที่ทำการกำหนดตัวชี้วัดความเสี่ยง บริษัทฯ จะทำการใช้ Risk Matrix เพื่อประเมินความเสี่ยงสำคัญของการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยวัดจากระดับของผลกระทบ (Impact) และโอกาสเกิด (Likelihood) ซึ่งความเสี่ยงในแต่ละระดับจะถูกบริหารจัดการด้วยความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ดังตารางด้านล่าง
สี | ระดับความเสี่ยง | ระดับของการยอมรับได้ | การดำเนินงานแก้ไข |
---|---|---|---|
สูงมาก | ยอมรับไม่ได้ |
|
|
สูง | ยอมรับไม่ได้ |
|
|
ปานกลาง | ยอมรับได้ |
|
|
ต่ำ | ยอมรับได้ |
|
|
ต่ำมาก | ยอมรับได้ |
|
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการติดตามและประเมินผลการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน และมีการรายงานให้กับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงรายไตรมาส
คู่ค้านับเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งอีกส่วนหนึ่งในการประกอบธุรกิจ บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการและดูแลคู่ค้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่น โดยบริษัทฯ มุ่งเน้นการปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเคารพความเสมอภาค โปร่งใสและเป็นธรรม เนื่องด้วยตระหนักดีว่า การเป็นคู่ค้าทางธุรกิจจำเป็นต้องตั้งอยู่บนหลักของความเท่าเทียม สร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้า เพื่อการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันในระยะยาว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพคู่ค้าด้วยการนำเอาระบบมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพมาปรับใช้ เพื่อให้มั่นใจว่า คู่ค้าและบริษัทฯ จะสามารถเติบโตร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
นโยบายและแนวทางการบริหารจัดการคู่ค้า
บริษัทฯ แบ่งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างออกเป็น 3 กลุ่มหลักในการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ ได้แก่ 1.อะไหล่และเคมี 2.เชื้อเพลิงชีวมวล และ 3.เชื้อเพลิงถ่านหิน โดยแต่ละกลุ่มจะกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงตามบริบทของกิจกรรม รวมถึงคู่ค้าที่จัดหาวัตถุดิบให้กับบริษัทฯ โดยจะต้องเป็นไปตามแนวปฏิบัติตามกฎหมาย และสอดคล้องกับมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ ISO 9001 ซึ่งโดยภาพรวม การจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทฯ จะอยู่ภายใต้นโยบายและแนวปฏิบัติ เช่น นโยบายการทำการค้าร่วมกัน แนวปฏิบัติการคัดเลือกคู่ค้า และจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ ซึ่งสำหรับจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้า บริษัทฯ กำหนดให้คู่ค้าทุกรายทำการลงนามรับทราบ เพื่อยึดถือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยคู่ค้าทุกรายต้องมีความโปร่งใสและจริยธรรมในการทำธุรกิจ มีมาตรฐานคุณภาพในการส่งมอบสินค้า มีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมาย รวมถึงมีการสุ่มตรวจคู่ค้าทั้งแบบ On-site visit และ Online ปีละ 2 ครั้ง ตามมาตรฐาน ISO 9001 อีกทั้งยังมีการสุ่มตรวจเพิ่มเติม เพื่อตรวจคุณภาพของวัตถุดิบ สินค้า และบริการต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการทุกอย่างดำเนินการอย่างถูกต้องตามสัญญาไปจนถึงการส่งมอบ
กระบวนการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่
บริษัทฯ มีการกำหนดขั้นตอนการสรรหาคู่ค้ารายใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักดังนี้
- การตรวจสอบคุณสมบัติคู่ค้าเบื้องต้น บริษัทฯ จะทำการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของคู่ค้าที่ถูกสรรหา โดยพิจารณาจากคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ความชัดเจนของชื่อคู่ค้าและสถานที่ตั้ง มีการจดทะเบียนประกอบกิจการมานานกว่า 1 ปี มีประวัติและผลงานที่สามารถอ้างอิงและตรวจสอบได้ เป็นต้น
- การลงทะเบียนและนำเสนอข้อมูลของคู่ค้า หลังจากพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นว่าเข้าข่ายการพิจารณาคัดเลือกแล้ว บริษัทฯ จะทำการติดต่อคู่ค้าเพื่อให้มีการนำเสนอราคา หรือนำเสนอข้อมูลของคู่ค้ารายใหม่ โดยฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างกลางจะทำการติดต่อกับคู่ค้าผ่านระบบออนไลน์ (ระบบ Zoom) หรือทำการเยี่ยมชมพื้นที่หากสามารถทำได้ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการเสนอราคาและคัดเลือกคู่ค้าต่อไป
- การขออนุมัติขึ้นทะเบียนคู่ค้า หลังจากผ่านการพิจารณาเสนอราคาและการคัดเลือกแล้ว บริษัทฯ จะทำการขออนุมัติการขึ้นทะเบียนคู่ค้า เมื่อผ่านกระบวนการทั้งหมดจึงเป็นอันเสร็จสิ้น
ระบบการตรวจสอบย้อนกลับของบริษัทฯ
บริษัทฯ วางระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ ครอบคลุมวัตถุดิบหลากหลายประเภท โดยบริษัทฯ จะทำการบันทึกข้อมูลโดยสอบย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นทางของวัตถุดิบ เพื่อเป็นการป้องกันการส่งมอบวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ หรือผิดไปจากลักษณะที่กำหนด อีกทั้งยังมีการสุ่มตรวจวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่า วัตถุดิบที่นำมาใช้สำหรับผลิตพลังงานนั้นมีประสิทธิภาพ สามารถนำมาใช้งานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
การเกิดประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ บทโลกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในฐานะบริษัทในอุตสาหกรรมพลังงาน ประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกหนีได้ และหากมีผลกระทบต่อตัวบริษัทฯ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังคู่ค้าต่าง ๆ ที่ดำเนินธุรกิจร่วมกับบริษัทฯ ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งในแง่ของอุตสาหกรรมพลังงาน มีความเสี่ยงที่ทางภาครัฐอาจบังคับใช้กฎหมายใหม่ หรือวางข้อกำหนดใหม่ที่จะส่งผล ต่อความผันผวนของราคาพลังงาน ที่อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อมายังคู่ค้า เนื่องจากบริษัทฯ ต้องพึ่งพาคู่ค้าในการจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตพลังงาน จึงอาจทำให้คู่ค้าสูญเสียรายได้จากการลดปริมาณการสั่งซื้อวัตถุดิบ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นประเด็นที่ท้าทายองค์กรทั่วโลกทั้งในระดับประเทศและระดับสากล หากขาดความสนใจในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อความเชื่อมั่นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีต่อบริษัทฯ ได้ นอกจากนี้ การละเลยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น การถูกโจมตีทางไซเบอร์อาจทำให้บริษัทฯ สูญเสียข้อมูลสำคัญในระบบ ทำให้การทำงานหยุดชะงักได้
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงมีแนวทางและกรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยการตรวจสอบประเด็นเหล่านี้ อย่างสม่ำเสมอ พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับบุคลากรทุกคน ทุกระดับ และทุกส่วนงาน และส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเตรียมพร้อมต่อการตอบสนองต่อภัยคุกคามทาง ไซเบอร์และสารสนเทศที่เป็นไปได้ในทุกรูปแบบ
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ ที่หันไปพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นในทุกกระบวนการของธุรกิจ ดังนั้น ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ จึงเป็นความเสี่ยงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และควรมีการป้องกันที่ดีที่สุด เนื่องจากความปลอดภัยทางไซเบอร์และความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อบริษัทฯ ความบกพร่องในการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์และของข้อมูลส่วนบุคคล อาจทำให้บริษัทฯ ต้องรับมือกับการดำเนินงานที่หยุดชะงักกะทันหันหรือการถูกฟ้องร้องเนื่องจากการรั่วไหลของข้อมูลได้
ทั้งนี้ บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์และความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้มีการดำเนินการป้องกันผ่านแนวทางการป้องกัน 3 ระดับ (3 lines of defense) โดยได้มีการมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการดูแลและสอดส่องความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่อาจจะกระทบต่อความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของบริษัทฯ นอกจากนี้ยังมีแผนการลงทุนเพิ่มเติมในระบบการควบคุมการเข้าถึงเครือข่าย (Network Access Control) เพื่อยกระดับความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทฯ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567
ผลการดำเนินงาน
จัดอบรมให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Cyber Security User Awareness ให้กับพนักงาน | ||
จัดตั้งคณะทำงานด้านการเฝ้าระวัง-รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และความต่อเนื่องทางธุรกิจ | ||
จัดทำแผนการซักซ้อมเสมือนจริงกรณีบริษัทได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ | ||
จำนวนคำร้องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือความเป็นส่วนตัวของข้อมูล | 0 คำร้อง |
เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสภาวะภูมิรัฐศาสตร์และสภาพภูมิอากาศของโลก ทำให้บริษัทฯ ทั่วโลกต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรมในการดำเนินและขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและปรับใช้นวัตกรรมที่นอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างผลประโยชน์ต่อสังคมได้อีกด้วย
บริษัทฯ ได้จัดตั้ง บริษัท อินทิเกรทเต็ด รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ จำกัด (“IRC”) ในปี 2550 เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการค้นคว้าและวิจัยนวัตกรรมให้แก่กลุ่มบริษัทฯ โดยมุ่งเน้นไปที่การวิจัยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอย่างครบวงจร โดยแบ่งการค้นคว้าและวิจัยนวัตกรรมเป็นสามส่วน อันได้แก่ การวิจัยด้านพลังงาน การวิจัยด้านน้ำและวัสดุเหลือใช้ในบริษัทฯ และงานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ โดยในงานวิจัยพืชพรรณ บริษัทฯ ได้มีการจดทะเบียนคุ้มครองของพันธุ์พืชใหม่รวม 11 ชนิด ตั้งแต่ปี 2560 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีความพร้อมสำหรับทำการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ โดยมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งยังให้บริการตรวจวัดคุณภาพน้ำเสีย และคุณภาพอากาศ รวมถึงการทดสอบทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ให้แก่บริษัทฯ ทั้งในและนอกเครือ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและสอดคล้องกับกฎหมาย
โดยในปี 2566 บริษัทฯ ได้มีการติดตั้งและปรับใช้นวัตกรรมในหลากหลายส่วน เช่น การปรับใช้ระบบพลังงานร่วมในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งช่วยลดการเกิดมลภาวะทั้งในลักษณะก๊าซและฝุ่น การจัดตั้งฟาร์มโซล่าเซลล์ลอยน้ำ การใช้เทคโนโลยีการกรองน้ำด้วยเส้นใย Fiber Filter ประสิทธิภาพสูง ที่ลดการใช้สารเคมีและใช้พื้นที่เพียง 1 ใน 2 ของระบบผลิตน้ำแบบเดิม เป็นต้น IRC ผู้รับผิดชอบด้านการค้นคว้าและวิจัยของกลุ่มบริษัทฯ ได้จัดทำโครงการวิจัยจำนวน 15 โครงการ ในปี 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประเภทงานวิจัย | ชื่อโครงการ | คำอธิบายโครงการ |
---|---|---|
งานวิจัยด้านพลังงาน-โรงไฟฟ้า | การปรับปรุงกระบวนการในโรงไฟฟ้า |
|
การปรับปรุงสาธารณูปโภค |
|
|
การปรับปรุงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
|
|
การจัดการเชื้อเพลิง |
|
|
นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ |
|
|
|
||
งานวิจัยด้านน้ำและวัสดุเหลือใช้ในกลุ่มบริษัทฯ | การจัดการน้ำ |
|
การจัดการของเสีย |
|
|
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยไม้อัดแข็ง (Green Fiber) |
|
|
การจัดการน้ำเสีย |
|
|
การปรับปรุงการผลิตเอทานอล (Ethanol) |
|
|
การผลิตแป้งมันสำปะลัง |
|
|
งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ | การพัฒนาสายพันธุ์ต้นไม้ |
|
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ |
|
|
ระบบการทำไร่ยูคาลิปตัสแบบยั่งยืน |
|
|
การวิจัยโรคในพืช |
|
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานการดำเนินการและการจัดการ รวมทั้งยึดมั่นในหลักการปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์และเอาใจใส่ เพื่อส่งมอบประสบการณ์การใช้งานและบริการที่ดีให้แก่ลูกค้า โดยลูกค้าหลักของบริษัทฯ จะเป็นผู้ซื้อบริการไฟฟ้า น้ำ และไอน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ทั้งหมด
ความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้น
การจัดการความสัมพันธ์ของบริษัทฯ กับลูกค้านั้นมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ในด้านการเติบโตและชื่อเสียงของบริษัทฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากบริษัทฯ ให้บริการไฟฟ้า น้ำ ไอน้ำ และก๊าซทางเลือกสำหรับการอุตสาหกรรม ทำให้บริษัทฯ ต้องให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเลือกใช้บริการของบริษัทฯ ต่อไป รวมถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ลูกค้าเกี่ยวกับความสำคัญของพลังงานทางเลือก เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงความจำเป็นในการหันมาใช้พลังงานทางเลือกแทนพลังงานถ่านหิน
ทั้งนี้ บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการเสถียรภาพการจ่ายไฟฟ้า น้ำ ไอน้ำ และก๊าซ เพื่อการอุตสาหกรรม และผลกระทบของเหตุขัดข้องที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้บริษัทฯ ได้ออกแบบกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนและข้อขัดข้องอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังรับรู้ถึงความต้องการของลูกค้าในการเลือกใช้พลังงานทางเลือกที่ผลิตเอง เช่น พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) และได้วางแผนออกแบบสัญญาบริการเพื่อให้สอดคล้องต่อ ความต้องการของลูกค้า
ความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจไฟฟ้าทั้งหมด | ร้อยละ 70 | |
ความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจน้ำอุตสาหกรรมทั้งหมด | ร้อยละ 83 | |
ข้อร้องเรียนด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และการบริการจากลูกค้า | 0 กรณี |