แนวทางบริหารจัดการ
|
|
|
|
|
|
|
ผลการดำเนินงาน
จำนวนพนักงานทั้งหมด | 2,611 คน | |
จำนวนลูกจ้างที่ไม่ใช่พนักงานทั้งหมด | 70 คน | |
จำนวนบุคลากรทั้งหมด | 2,681 คน | |
จำนวนพนักงานใหม่ในองค์กร | 960 คน | |
จำนวนพนักงานที่ลาออกในรอบปี 2566 | 451 คน | |
จำนวนพนักงานที่ใช้สิทธิลาคลอดบุตร และร้อยละของพนักงานที่กลับมาทำงานหลังจากใช้สิทธิลาคลอดบุตร | 18 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของพนักงานที่ใช้สิทธิ | |
จำนวนข้อร้องเรียนของพนักงาน | 0 กรณี | |
ระดับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อบริษัทฯ | 67% | |
จำนวนชั่วโมงฝึกอบรมเฉลี่ย | 14.48 ชั่วโมง/คน/ปี | |
จำนวนเงินลงทุนในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร | 8,547,761.25 บาท | |
ร้อยละของพนักงานที่ได้รับการพัฒนาทางด้านอาชีพ | 100% | |
จำนวนและร้อยละของพนักงานและลูกจ้างขององค์กรที่ได้รับการครอบคลุมด้วยระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 2,681 คน คิดเป็นร้อยละ 100 | |
จำนวนและร้อยละของพนักงานและลูกจ้างขององค์กรที่ได้รับดูแลด้วยระบบอาชีว อนามัยและความปลอดภัย รวมถึงการได้รับการตรวจสอบภายใน | 2,681 คน คิดเป็นร้อยละ 100 | |
จำนวนและร้อยละของพนักงานและลูกจ้างขององค์กรที่ได้รับดูแลด้วยระบบอาชีว อนามัยและความปลอดภัย รวมถึงการได้รับการตรวจสอบภายนอก | 2,681 คน คิดเป็นร้อยละ 100 | |
จำนวนพนักงานที่เสียชีวิตจากการทำงาน | 0 ราย | |
จำนวนลูกจ้างที่เสียชีวิตจากการทำงาน | 0 ราย | |
จำนวนชั่วโมงการทำงานของพนักงาน | 2,093,340 ชั่วโมง/ปี | |
จำนวนชั่วโมงการทำงานของลูกจ้าง | 511,357 ชั่วโมง/ปี | |
จำนวนอัตราการบาดเจ็บของพนักงาน (IR) | 1 ครั้ง | |
จำนวนอัตราการบาดเจ็บของลูกจ้าง (IR) | 0 ครั้ง | |
จำนวนการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน (LTIFR) | 3.34 | |
จำนวนการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของลูกจ้าง (LTIFR) | 1.96 | |
อัตราโรคที่เกิดจากการทำงาน (ODR) | 2 ราย | |
จำนวนข้อร้องเรียนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกิดขึ้นในรอบปี 2566 | 0 ครั้ง | |
ร้อยละของการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่นำการมีส่วนร่วมของชุมชนมาพัฒนาแผนปฏิบัติงาน | ร้อยละ 100 | |
จำนวนชุมชนที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินงานของชุมชน | 20 ชุมชน | |
จำนวนชุมชนที่ได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมกับชุมชนขององค์กร | 20 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 100 | |
ข้อร้องเรียนจากชุมชนที่มีนัยสำคัญ | 0 ครั้ง |
การดูแลและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและเฉียบพลัน ไม่ว่าจะเป็นด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ ทักษะของพนักงาน และการแข่งขันในตลาดแรงงาน ประเด็นด้านการดูแลและการพัฒนาพนักงานโลกธุรกิจเริ่มเข้ามามีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้ง ยังเป็นหนึ่งในประเด็นที่พนักงานใช้สำหรับการพิจารณาและตัดสินใจเข้าร่วมงานกับองค์กรต่าง ๆ
จากเหตุผลดังกล่าวส่งผลให้ บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการส่งเสริมพนักงานทุกระดับในองค์กรให้สามารถมีทักษะเพื่อใช้สำหรับพัฒนาตนเอง และเพื่อพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจะเกิดขึ้น โดยบริษัทฯ ตระหนักเสมอว่าการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนั้น ค่าตอบแทนและผลประโยชน์อาจไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดเพียงปัจจัยเดียว บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการดูแลคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพนักงานอย่างรอบด้าน เพื่อดึงดูดและสร้างความผูกพันธ์ระหว่างพนักงานกับองค์กร และร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต เพราะบริษัทฯ เชื่อมั่นว่า “พนักงานคือทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร” ที่บริษัทฯ จะต้องมุ่งมั่นรักษาให้คงอยู่กับองค์กรได้นานที่สุด
นโยบายและการบริหารจัดการด้านการดูแลและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
บริษัทฯ กำหนดให้แผนกทรัพยากรบุคคลทำหน้าที่ประเมินและวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงต่างๆ อาทิ อัตราการลาออกของพนักงาน ความเสี่ยงด้านทักษะในการทำงานสายวิชาชีพ และความเสี่ยงด้านการพึ่งพิงบุคลากรสำคัญ เป็นต้น พร้อมทั้งกำหนดแผนในการรับมือ เพื่อลดผลกระทบในประเด็นการดูแลรักษาและพัฒนาพนักงานที่อาจเกิดขึ้น โดยมีการรายงานความเสี่ยงดังกล่าวต่อคณะกรรมการความเสี่ยงบริษัทฯ
หลังจากประเมินความเสี่ยง บริษัทฯ จะประเมินความจำเป็นในการอบรมเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุดความรู้และทักษะ ที่จำเป็นและเหมาะสมกับแต่ละตำแหน่งงาน ซึ่งในปี 2567 บริษัทฯ จะปรับใช้ระบบการเรียนแบบ e-learning โดยมีหลักสูตรการเรียนพื้นฐานสำหรับพนักงานทุกระดับและทุกตำแหน่ง รวมไปถึงการออกแบบหลักสูตรการเรียนสำหรับเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นของแต่ละตำแหน่งและระดับที่เหมาะสมให้พนักงานได้เรียนรู้ได้อย่างอิสระ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาและรักษาบุคลากรอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ในปี 2566 บริษัทฯ เริ่มพัฒนาแผนสืบทอดตำแหน่งของบุคลากรที่มีศักยภาพ เพื่อทำให้การเติบโตขององค์กรดำเนินได้อย่างยั่งยืน และช่วยให้บุคลากรที่มีศักยภาพสูงมี Career Path และสร้างคุณค่าให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาทักษะของพนักงาน
บริษัทฯ ได้วางแผนจัดเตรียมหลักสูตรและโครงการที่สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของพนักงานเป็นประจำทุกปี โดยหลักสูตรการฝึกอบรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. หลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทักษะ ทั้งด้านทักษะวิชาชีพ (Hard skill) และความสามารถเชิงสมรรถนะที่จะเป็น (Soft skill)
1.1 หลักสูตรการฝึกอบรมภายในองค์กร
หลักสูตรการฝึกอบรม | หลักสูตรการฝึกอบรม |
---|---|
หลักสูตรการฝึกอบรมภายในองค์กร |
|
ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ |
|
1.2 หลักสูตรการฝึกอบรมภายนอกองค์กร
ตัวอย่างหัวข้อการอบรม |
---|
|
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ให้สิทธิลาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ พร้อมรับประกันการรับกลับเข้ามาทำงานของพนักงาน ซึ่งในปี 2566 ไม่มีพนักงานที่ประสงค์ลาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการหรือศึกษาต่อ
2. หลักสูตรสำหรับการยกระดับทักษะของพนักงานเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง
หลักสูตรการฝึกอบอรม | หลักสูตรการฝึกอบอรม |
---|---|
หลักสูตรการวางแผนก่อนเกษียณอายุ สำหรับผู้ที่ตั้งใจเกษียณอายุ |
|
แนวคิด “Happy Workplace”
Happy Money ส่งเสริมการจัดการรายรับ รายจ่าย ไม่ให้เป็นหนี้ รู้จักการใช้เงิน การสร้างผลตอบแทนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
โครงการจัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือพนักงานในการใช้ชีวิตการทำงานอย่างมีความสุข (Happy money) จึงเริ่มนำร่องโครงการเบิกเงินสะสมล่วงหน้าแอปพลิเคชัน Mula x NPS ที่จะช่วยให้พนักงานมีการกู้ยืมเงินนอกระบบที่ลดลง และช่วยส่งเสริม Working Capital (เงินหมุนเวียน) และสภาพคล่องระหว่างเดือนให้แก่พนักงาน
Happy Heart ส่งเสริมการมีน้ำใจ เกื้อกูล เพื่อให้พนักงานได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
บริษัทฯ จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “NPS Freshy Day 2566” ให้แก่พนักงานที่เข้าใหม่ในปี 2566 เพื่อเป็นวันแห่งการเริ่มต้นที่ดี โดยการต้อนรับพนักงานใหม่ด้วยบรรยากาศที่อบอุ่นไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Team Building เพื่อให้พนักงานเข้าถึงและเข้าใจค่านิยมองค์กร "PRIDE+D" อีกทั้ง ยังได้ร่วมสร้างสังคมการทำงานให้กับพนักงานใหม่ทำให้รู้จักเพื่อนร่วมงาน และสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้
Happy Body ส่งเสริมด้านสุขภาพกายให้แข็งแรง
กิจกรรมจัดขึ้นเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของพนักงานในองค์กร โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อความสามัคคีและการลดช่องว่างระหว่างพนักงาน โดยรูปแบบกิจกรรมจะเป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอล สานสัมพันธ์ NPS ประจำปี 2566
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมด้านสุขภาพ เพื่อให้พนักงานในองค์กรมีสุขภาพดี จึงจัดสรรสวัสดิการที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ได้พิจารณาและจัดสรรสวัสดิการ Fitness ให้แก่พนักงานเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนให้พนักงานได้ใช้เวลาว่างในการออกกำลังกายดูแลสุขภาพ และเป็นการสร้างความผูกพันที่มีต่อองค์กร
ผลการดำเนินงาน
จำนวนพนักงานทั้งหมด | 2,611 คน | |
จำนวนลูกจ้างที่ไม่ใช่พนักงานทั้งหมด | 70 คน | |
จำนวนบุคลากรทั้งหมด | 2,681 คน | |
จำนวนพนักงานใหม่ในองค์กร | 960 คน | |
จำนวนพนักงานที่ลาออกในรอบปี 2566 | 451 คน | |
จำนวนพนักงานที่ใช้สิทธิลาคลอดบุตร และร้อยละของพนักงานที่กลับมาทำงานหลังจากใช้สิทธิลาคลอดบุตร | 18 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของพนักงานที่ใช้สิทธิ | |
จำนวนข้อร้องเรียนของพนักงาน | 0 กรณี | |
ระดับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อบริษัท | 67% | |
จำนวนชั่วโมงฝึกอบรมเฉลี่ย | 14.48 ชั่วโมง/คน/ปี | |
จำนวนเงินลงทุนในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร | 8,547,761.25 บาท | |
ร้อยละของพนักงานที่ได้รับการพัฒนาทางด้านอาชีพ | 100% |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยตรง ในธุรกิจการผลิตไฟฟ้า เป็นธุรกิจที่ต้องดำเนินกิจการตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้มีพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน ความบกพร่องจากอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เหตุภัยพิบัติ และเหตุสุดวิสัย ธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจึงถือว่าเป็นธุรกิจที่มีความอันตรายต่อการดำเนินงานของพนักงานทุกภาคส่วน ดังนั้น บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเด็นดังกล่าว
โดยบริษัทฯ ตระหนักว่าการดำเนินการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดี นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังสามารถช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุแก่พนักงาน ช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีความเป็นอยู่ที่ดี ส่งผลให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น และช่วยสร้างความผูกพันธ์ต่อองค์กร ที่นำไปสู่การลดอัตราการลาออกของพนักงานได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบที่ช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสำเร็จและยั่งยืนได้ ในทางกลับกัน หากบริษัท ฯ ไม่คำนึงถึงการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน จะส่งผลต่อความไม่ต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ และผลกระทบทางการเงิน อาทิ ค่าใช้จ่ายและค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่เจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน รวมไปถึงทำให้กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียขาดความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร
นโยบายและการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยกำหนดให้เป็นกรอบในการกำกับดูแลกิจการ และการดำเนินงานขององค์กรให้กับบุคลากรทุกคน รวมไปถึงบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติภารกิจ ในพื้นที่รับผิดชอบของบริษัทฯ อีกทั้ง ได้พัฒนาระบบการจัดการขององค์กร โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และส่งเสริมสุขภาพที่ดีแก่ลูกจ้างและบุคลากรอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล ISO 45001:2018 ซึ่งพื้นที่ปฏิบัติงานของบริษัทฯ ที่ได้รับการรับรองระบบการจัดการดังกล่าว สำหรับพื้นที่สวนอุตสาหกรรม 304 ปราจีนบุรี ได้แก่ PP5, PP6, PP7, PP8, PP9, PP5A, PP11 และ E85 และพื้นที่สวนอุตสาหกรรม 304 ฉะเชิงเทรา ได้แก่ PP3 และ PP4
นอกจากการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลแล้ว บริษัทฯ ยังปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายภายในประเทศด้านการบริหารความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด อาทิ
- พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
อีกทั้ง บริษัทฯ ได้จัดทำประกาศสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ไว้อย่างชัดเจน โดยมีการเน้นย้ำเสมอว่า
“ลูกจ้างมีสิทธิในการปฏิเสธการทำงานที่ไม่มีมาตรการด้านความปลอดภัย โดยสามารถแจ้งการปฏิเสธนั้น ต่อหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา หากพบเห็นสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยต่อการทำงานของลูกจ้าง ให้แจ้งหัวหน้างาน เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ให้อยู่ในสภาวะที่ปลอดภัยก่อนจึงจะเข้าทำงานได้”
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
ในปัจจุบัน ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้นทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคครัวเรือน ภาครัฐ ภาคการกุศล และภาคธุรกิจที่มีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น เพื่อปรับตัวต่อความเสี่ยงดังกล่าว ธุรกิจต่างๆ จึงเริ่มลดค่าใช้จ่ายในองค์กร เช่น การลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับพนักงาน ส่งผลให้การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยไม่เพียงพอ อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยล้าสมัย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพนักงานลดน้อยลง และการซ่อมบำรุงรักษาล่าช้า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงต่อความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน อาจส่งผลให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุในสถานที่ทำงานของพนักงานสูงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ค่าใช้จ่ายด้านสินไหมทดแทน อีกทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ส่งผลต่อการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยที่มากขึ้นเช่นกัน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้บริษัทฯ ต้องจ่ายต้นทุนประกันภัยสูงขึ้นตามไปด้วย
บริษัทฯ ตระหนักว่าการดำเนินธุรกิจที่มีความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีต่อพนักงานและกลุ่ม ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานขององค์กร จึงได้ดำเนินงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 45001 และมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กร กระบวนการบ่งชี้อันตราย กระบวนการตรวจสอบอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และการกำหนดมาตรการในการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กร รวมไปถึงการจัดให้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และการทำให้ระบบการบริหารจัดการด้านดังกล่าวมีประสิทธิภาพ
การประเมินความเสี่ยงอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กร
บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จึงกำหนดกระบวนการประเมินความเสี่ยงที่ครอบคลุมทั้งการเกิดอุบัติเหตุถึงขึ้นหยุดงานของพนักงาน ความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุของกลุ่มจักรกลหนัก การขนส่งเชื้อเพลิง อุบัติการณ์เพลิงไหม้ หรือสารเคมีรั่วไหล ซึ่งความเสี่ยงในแต่ละประเด็นบริษัทฯ ได้จัดทำมาตรการรองรับแล้วทั้งหมด และทำการประเมินเป็นประจำทุกไตรมาส เพื่อติดตามการปฏิบัติตามมาตรการลดและควบคุมความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และป้องกันการสูญเสียซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน และทรัพย์สิน
กระบวนการในการระบุอันตรายที่เกิดจากการทำงานและการประเมินความเสี่ยง
ในการระบุความอันตรายที่เกิดจากการทำงาน หัวหน้างานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะจัดทำรายงานความรับผิดชอบ ลงในแบบฟอร์มการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง ซึ่งแบบฟอร์มดังกล่าวสอดคล้องตามขั้นตอนการดำเนินงานมาตรฐาน ISO 45001 เพื่อใช้ในการบ่งชี้อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานในทุกตำแหน่ง และทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานการวิเคราะห์ โดยจะมีจป.หัวหน้างาน และจป.วิชาชีพ นำข้อมูลดังกล่าวไปประเมินความเสี่ยงและจัดทำทะเบียนความเสี่ยง จากนั้น ผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่า จะเป็นผู้จัดทำแผนงานลดและควบคุมความเสี่ยง พร้อมทั้งตรวจสอบรายงานผลประเมินความเสี่ยง และนำเสนอรายงานให้แก่ผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่า เพื่อทำการอนุมัติ อีกทั้ง บริษัทฯ ยังมีการติดตามผลดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องตามแผนลดและควบคุมความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยมีจป.หัวหน้างาน ผู้จัดการแผนก และ จป.วิชาชีพ นำผลการดำเนินงานและผลการประประเมินความเสี่ยงมาทบทวนเป็นประจำทุกปี รวมถึงการพิจารณาความเสี่ยงใหม่เกิดขึ้น
กระบวนการตรวจสอบอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
บริษัทฯ จัดทำขั้นตอนการรายงานและการสอบสวนอุบัติการณ์ โดยขั้นตอนการรายงานจะเป็นการรายงานเบื้องต้นของหัวหน้างานแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานความปลอดภัย ด้วยวาจาให้รับทราบภายใน 24 ชั่วโมง และนำส่งรายละเอียดของอุบัติการณ์ ที่ประกอบด้วยชื่ออุบัติการณ์ ผู้เกิดเหตุหรือพบเหตุการณ์ วัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ ประเภทอุบัติการณ์ รายละเอียดพร้อมแนบรูปถ่าย จากนั้นคณะกรรมการสอบสวนอุบัติการณ์จะพิจารณารายงานอุบัติการณ์เบื้องต้น เพื่อให้ข้อเสนอแนะ และดำเนินการสอบสวนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันหลังจากเกิดอุบัติการณ์ ซึ่งในการสอบหาสาเหตุจะแบ่งเป็นการปฏิบัติที่ต่ำกว่ามาตรฐาน หรือสภาพการณ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อให้ได้มาซึ่งการระบุมาตรการป้องกัน และแนวทางแก้ไขได้อย่างครบถ้วนในแต่ละหัวข้อ รวมถึงมีการระบุผู้รับผิดชอบและกำหนดกรอบระยะเวลาในการแก้ไขอุบัติเหตุณ์ที่เกิดขึ้น โดยผู้จัดการส่วนงานที่เกิดเหตุจะเป็นผู้ติดตามผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไข และรายงานผลในการประชุมประจำสัปดาห์หรือการประชุมประจำเดือน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและหัวหน้าเจ้าที่บริหารรับทราบ
การกำกับดูแลความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
บริษัทฯ ได้กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามนโยบายและส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนที่จะต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบและปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว โดยมีผู้เกี่ยวข้องหลักในการกำกับดูแลนโยบายดังต่อไปนี้
- คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่กำกับดูแลและรับรองนโยบาย กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ และทบทวนประสิทธิภาพของระบบการจัดการด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- คณะกรรมการธรรมาภิบาล มีหน้าที่สอบทวน ทบทวน และให้ความเห็นต่อนโยบาย แนวปฏิบัติ และกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท และผู้บริหารระดับสูง ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริการจัดการการผลิต การปฏิบัติตาม และสอบทานความถูกต้องตามกรอบของกฎหมายและข้อกำหนดทางด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย
- คณะกรรมการความปลอดภัย อาชวีอนามัย และสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และบริหารจัดการกรณีการเกิดความไม่ปลอดภัยต่อการดำเนินงานของพนักงานในพื้นที่ความรับผิดชอบของบริษัทฯ อันได้แก่ อุบัติเหตุ การรั่วไหลของสารเคมี อุทกภัย หรืออัคคีภัย เป็นต้น โดยคณะกรรมการฯ จะถูกจัดตั้งแยกย่อยตามพื้นที่ดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนพนักงานผู้รับผิดชอบในพื้นที่ดำเนินงานนั้นๆ
- ฝ่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่สนับสนุนการร่างนโยบายด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยติดตามข้อกำหนด และกฎหมายทางด้วยความปลอดภัยในสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการพัฒนาระบบงานทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และระบบงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเป็นผู้นำในการจัดทำกรอบการดำเนินงาน ตัวชี้วัด และแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องนโยบาย และการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อสนับสนุนข้อมูลให้แก่คณะกรรมการแต่ละชุดข้างต้น ตลอดจนการสื่อสาร สร้างความตระหนักรู้ และความมีส่วนร่วมภายในองค์กร
ผลการดำเนินงาน
จำนวนและร้อยละของพนักงานและลูกจ้างขององค์กรที่ได้รับการครอบคลุมด้วยระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 2,681 คน คิดเป็นร้อยละ 100 | |
จำนวนและร้อยละของพนักงานและลูกจ้างขององค์กรที่ได้รับดูแลด้วยระบบดังกล่าว และได้รับการตรวจสอบภายใน | 2,681 คน คิดเป็นร้อยละ 100 | |
จำนวนและร้อยละของพนักงานและลูกจ้างขององค์กรที่ได้รับดูแลด้วยระบบดังกล่าว และได้รับการตรวจสอบภายนอก | 2,681 คน คิดเป็นร้อยละ 100 | |
จำนวนพนักงานที่เสียชีวิตจากการทำงาน | 0 ราย | |
จำนวนลูกจ้างที่เสียชีวิตจากการทำงาน | 0 ราย | |
จำนวนชั่วโมงการทำงานของพนักงาน | 2,093,340 ชั่วโมง/ปี | |
จำนวนชั่วโมงการทำงานของลูกจ้าง | 511,357 ชั่วโมง/ปี | |
จำนวนอัตราการบาดเจ็บของพนักงาน (IR) | 1 ครั้ง | |
จำนวนอัตราการบาดเจ็บของลูกจ้าง (IR) | 0 ครั้ง | |
จำนวนการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน (LTIFR) | 3.34 | |
จำนวนอัตราการบาดเจ็บของลูกจ้าง (IR) | 1.96 | |
อัตราโรคที่เกิดจากการทำงาน (ODR) | 2 ราย | |
จำนวนข้อร้องเรียนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกิดขึ้น | 0 ครั้ง |
สิทธิมนุษยชนและการยอมรับความหลากหลายและความแตกต่าง
บริษัทฯ เชื่อว่าสิทธิมนุษยชน การยอมรับความหลากหลาย และความแตกต่างเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนของบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งการให้ความสำคัญต่อประเด็นดังกล่าวนั้นนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินกิจการที่ดีขององค์กรแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย แนวคิดสากล และเป็นบรรทัดฐานที่ดีในการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่จะเกิดขึ้นในองค์กรได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินธุรกิจในโลกสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญและผลักดันการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและความหลากหลาย ธุรกิจจึงถูกคาดหวังจากทั้งภาครัฐ นักลงทุน และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ให้มีการบริหารจัดการเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนขององค์กร ซึ่งในธุรกิจที่มีความอ่อนไหวต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นย่อมเกิดผลกระทบที่ตามมา อาทิ ผลกระทบทางด้านการเงิน โอกาสในการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการสูญเสียชื่อเสียงและความเชื่อมั่นขององค์กร
นโยบายและการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนและการยอมรับความหลากหลายและความแตกต่าง
บริษัทฯ จัดทำนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและจรรยาบรรณธุรกิจ โดยกำหนดให้ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งในนโยบาย ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติต่อพนักงาน ชุมชน และสังคมด้วยความเสมอภาค เสรีภาพ และความเท่าเทียม รวมถึงการเคารพสิทธิพื้นฐานส่วนบุคคล และไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว เพศ อายุ การศึกษา สภาวะทางร่างกาย หรือสถานะทางสังคมใดก็ตาม อีกทั้ง นโยบายดังกล่าวยังครอบคลุมถึงการไม่ใช้แรงงานเด็ก และการคุกคามทางเพศในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ และในห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางบริหารจัดการประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมด้าน
- การปฏิบัติต่อพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรอย่างเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ
- การไม่ใช้แรงงานเด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดหรือการไม่ใช้แรงงานบังคับตลอดห่วงโซ่อุปทาน
- การเคารพสิทธิผู้บริโภค/ลูกค้า การไม่เลือกปฏิบัติและไม่ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
- การเคารพสิทธิชุมชน การรับฟังความคิดเห็นและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน
- การจัดให้มีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence; HRDD)
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
ในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิต การบริการ การจัดหาวัสดุ รวมไปถึงการขนส่ง ล้วนจำเป็นต้องอาศัยแรงงานในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานที่ไม่เท่าเทียม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ประเด็นด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเป็นกระแสที่ทั่วโลกจับตามอง ทั้งในกลุ่มผู้บริโภค ภาครัฐ และกลุ่มนักลงทุน หากบริษัทฯ ไม่ให้ความสำคัญต่อประเด็นดังกล่าว อาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในองค์กร และอาจลุกลามไปสู่การฟ้องร้องได้
ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงดำเนินงานโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง โดยมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกำหนดให้มีระบบการตรวจสอบประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งการติดตามเพื่อแก้ไข ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น บริษัทฯ ได้จัดช่องทางการร้องเรียนสำหรับพนักงานและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เพื่อแก้ไขและควบคุมปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ผลการดำเนินงาน
จำนวนข้อร้องเรียนการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในองค์กร | 0 ครั้ง | |
จำนวนพนักงานผู้พิการที่บริษัทมีการจ้างงาน | 4 คน |
การมีส่วนร่วมของชุมชนและความรับผิดชอบต่อสังคม
บริษัทฯ เชื่อว่าการเป็นองค์กรที่ดีจะต้องดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม จึงมีความมุ่งมั่นผลิตไฟฟ้าและพลังงาน รวมถึงการสร้างแหล่งพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภค ไปพร้อมๆ กับการดำเนินงานเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมด้วยความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ภายใต้กรอบการพัฒนา “สร้างพลังงานให้มั่นคง พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง” เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า และจัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด “สร้างอาชีพ ให้การศึกษา ดูแลสุขภาพ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาความเป็นอยู่ ในชุมชนให้ดีขึ้นทุกมิติ ทั้งในด้านอาชีพ การศึกษา สุขภาพ และวัฒนธรรม รวมถึงสร้างความสัมพันธ์อันดีของชุมชนกับองค์กร ที่จะก่อให้เกิดการยอมรับ ไว้วางใจ และมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบกิจการขององค์กร
นอกจากนี้ บริษัทฯ ตั้งมั่นในการลดผลกระทบเชิงลบที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับชุมชน อาทิ การปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของพนักงาน ผู้รับเหมา ชุมชนโดยรอบ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดูแลรักษาและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมลภาวะที่กระทบต่อชุมชน และเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าภายในชุมชน
นโยบายและการบริหารจัดการด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและความรับผิดชอบต่อสังคม
บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นกรอบการดำเนินงานให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร โดยคำนึงถึงการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนรอบสถานประกอบการ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้ง บริษัทฯ ยึดมั่นในการการปฏิบัติต่อผู้คนในชุมชนอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และได้จัดทำกระบวนการเปิดรับฟังข้อคิดเห็น เพื่อลดข้อกังวลของชุมชน ที่นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อม ๆ กับการดำเนินงานของบริษัทฯ
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
ความท้าทายด้านเศรษฐกิจโลก เช่น ภาวะถดถอยของประเทศทั่วโลก อันส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และปัญหาความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมล้วนส่งผลกระทบต่อสังคม ผู้คน และชุมชน ธุรกิจของบริษัทฯ เป็นธุรกิจที่ดำเนินงาน ในพื้นที่ใกล้เคียงกับชุมชน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวอาจนำไปสู่ผลกระทบต่อชุมชนรอบ ๆ โรงงานได้ เช่น ปัญหาด้านฝุ่น มลพิษ และการจัดการของเสีย ที่สามารถก่อให้เกิดการเจ็บป่วยของคนในชุมชน
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โดยเคารพถึงความคาดหวัง การดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงเพื่อสร้างและรักษาไว้ซึ่งการยอมรับทางสังคม (Social license to operate) จึงได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่สานสัมพันธ์กับชุมชน โดยผ่านการจัดกิจกรรม เช่น กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพ และกิจกรรมส่งเสริมด้านศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม ที่ช่วยสร้างการการมีส่วนร่วม ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในการสนับสนุนและช่วยเหลือสังคม นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อชุมชน เพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่นำการมีส่วนร่วมของชุมชนมาพัฒนาแผนปฏิบัติงาน | ร้อยละ 100 | |
จำนวนชุมชนที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินงานของชุมชน | 20 ชุมชน | |
จำนวนชุมชนที่ได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมกับชุมชนขององค์กร | 20 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 100 | |
ในปี 2566 ไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชนที่มีนัยสำคัญ |